-
- กกก
- ระบบสมาชิก
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
อัลตราซาวด์เป็นการตรวจความผิกปกติของอวัยวะภายในร่างกายด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เช่น อวัยวะในช่องท้อง เต้านม ต่อมไทรอยด์ เส้นเลือดของแขน – ขา คอ ยกเว้น อวัยวะที่มีลม หรือกระดูก เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ตรวจเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาได้
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
- ดูความผิดปกติทั่วๆไป เช่น นิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี, ก่อนเนื้อในตับ เป็นต้น
- เพื่อยืนยันกับการตรวจการมีก้อนเนื้อบริเวณอวัยวะต่างๆ
- ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของรอยโรค
- เพื่อช่วยนำทางในการเจาะอวัยวะที่สงสัย เพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อในการส่งวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาต่อไป
- เพื่อดูเพศ, ความผิดปกติ, ขนาดของทารกในครรภ์
- ดูความผิดปกติของเส้นเลือดดำ, เส้นเลือดแดง ว่ามีการอุดตัน, โป่ง หรือขอด เป็นต้น
- ดูจังหวะการเต้น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นเลือดแดงส่วนต้น (ตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจโดยเฉพาะ)
- ดูความผิดปกติของสมองเด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบ
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
1. การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน จะแนะนำให้งดอาหารประมาณ 4-6 ชั่วโมง ก่อนมาทำการตรวจ
2. การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง จะต้องดื่มน้ำและกลั้นปัสสาวะให้มีนํ้าปัสสาวะมากๆในกระเพาะปัสสาวะ
เพราะนํ้าในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นๆ ได้ดีขึ้น ปริมาณปัสสาวะในกระเพาะที่จะช่วยให้การตรวจสมบูรณ์นั้น
การตรวจบริเวณอื่นเจ้าหน้าที่จะแจ้งขั้นตอนการเตรียมตัวตามความเหมาะสมอีกครั้ง แต่โดยทั่วไปถ้าไม่ได้ตรวจอวัยวะในช่องท้อง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารและไม่ได้มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่มากนัก