นิ่วในถุงน้ำดี อันตรายกว่าที่คุณคิด

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 - 50 ปี ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา เพราะฉะนั้นการรู้ทันโรคนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

นิ่วในถุงน้ำดี อันตรายกว่าที่คุณคิด

 

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 - 50 ปี ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา เพราะฉะนั้นการรู้ทันโรคนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

 

หน้าที่ของถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะบริเวณช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้นเพื่อพร้อมสำหรับย่อยไขมัน 

 

รู้จักโรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี ทำให้เกิดนิ่ว โดยลักษณะนิ่วมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. นิ่วจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) อาจเป็นสีเหลือง ขาว เขียวเกิดจากการตกตะกอนไขมัน เนื่องจากคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในถุงน้ำดี 
  2. นิ่วจากเม็ดสี (Pigment Stones) อาจเป็นสีคล้ำดำ เกิดจากความผิดปกติของเลือด โลหิตจาง ตับแข็ง 
  3. นิ่วโคลน (Mixed Gallstones) เป็นคล้ายโคลน เหนียว หนืด เกิดจากการติดเชื้อใกล้ตับ ท่อน้ำดี ตับอ่อน

 

นิ่ว, นิ่วในถุงน้ำดี, ไส้เลื่อน, ไส้เลื่อนหน้าท้อง, ไส้เลื่อนขาหนีบ, ไส้ติ่ง, ไส้ติ่งอักเสบ, กรดไหลย้อน, แผลในกระเพาะอาหาร, ลำไส้อักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ตับอักเสบ, กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ, โรคทางนรีเวช

 

อาการบอกโรค

  • นิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรือมีบางอาการ แต่ไม่ครบทุกอาการดังต่อไปนี้ 
  • ท้องอืด
  • แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังทานอาหารไขมันสูง เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
  • ปวดใต้ลิ้นปี่/ชายโครงด้านขวา 
  • ปวดร้าวที่ไหล่/หลังขวา 
  • คลื่นไส้อาเจียน (ถุงน้ำดีติดเชื้อ) 
  • มีไข้หนาวสั่น 
  • ดีซ่าน/ตัว-ตาเหลือง  (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • ปัสสาวะสีเข้ม  (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • อุจจาระสีขาว (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

ทั้งนี้ก้อนนิ่วที่ตกตะกอนอาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ จำนวนมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนไปจนถึงหลายร้อยก้อนได้ หากมีขนาดใหญ่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้

 

กลุ่มเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

  • เพศหญิง 40 ปีขึ้นไป 
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก 
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • โรคเบาหวาน 
  • โรคเลือด โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย
  • ตั้งครรภ์หลายครั้ง
  • กินยาคุมกำเนิด
  • ทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • ทานยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัว

 

ตรวจวินิจฉัย

การตรวจที่ดีที่สุดคือการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน จะทำให้เห็นรายละเอียดของก้อนนิ่วในถุงน้ำดีได้ชัดเจน 

 

นิ่ว, นิ่วในถุงน้ำดี, ไส้เลื่อน, ไส้เลื่อนหน้าท้อง, ไส้เลื่อนขาหนีบ, ไส้ติ่ง, ไส้ติ่งอักเสบ, กรดไหลย้อน, แผลในกระเพาะอาหาร, ลำไส้อักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ตับอักเสบ, กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ, โรคทางนรีเวช

 

วิธีการรักษา

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการจากนิ่วในถุงน้ำดี หากสามารถทำการผ่าตัดได้ แนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำดีออกทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องที่มักใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีการอักเสบมากและแตกทะลุในช่องท้องจำเป็นต้องพักฟื้นค่อนข้างนาน และการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ที่แพทย์จะเจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องด้วยเครื่องมือเฉพาะ จากนั้นใส่กล้องเข้าไปเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนทุกมิติ ก่อนจะตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออก วิธีนี้นอกจากช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน แผลยังมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ ผู้ป่วยฟื้นตัวไว ไม่ต้องพักฟื้นนาน ซึ่งควรผ่าตัดรักษาภายใน 72 ชั่วโมง และหลังจากผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เพราะถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดี แต่ควรลดของมัน เน้นทานผักและปลามากขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืดและมีสุขภาพดีในระยะยาว

 

นิ่วในถุงน้ำดีโรคใกล้ตัวผู้หญิงวัย 40+

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 40 ปี นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีไขมันในเลือดสูง ทานยาคุมกำเนิดหรือทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน มีบุตรหลายคน เป็นโรคเบาหวาน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีทั้งสิ้น ดังนั้นหากสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอัลตราซาวนด์โดยเร็วที่สุด

 

การป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดีสามารถทำได้โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ที่สำคัญตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติในลักษณะที่ชวนสงสัยรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นถุงน้ำดีเน่า ถุงน้ำดีแตกจนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้ในอนาคต

 

 

ข้อมูล : นพ.คมเดช ธนวชิระสิน