มั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาผู้ป่วยเป็นสำคัญ จึงได้มีการจัดหาและนำเครื่องมือเครืองใช้ทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบ วินิจฉัยและให้ได้ผลไวต่อการรักษา ดังนี้
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ [Computed Tomography] ( 64 slice)
- การตรวจเอกซเรย์พิเศษ [special examination with digital fluoroscopy]
- การตรวจเอกซเรย์เต้านม [Mammogram]
- การตรวจอัลตร้าซาวด์ [Ultrasound]
- การตรวจเอกซเรย์ทั่วไป [General X-Ray]
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [MRI]
- เอกซเรย์เคลื่อนที่ [X-Ray Portable]
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - MRI
เป็นการตรวจทางรังสีวินิจฉัยวิธีการหนึ่ง โดยอาศัยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุที่มีผลต่อโปรตอน ซี่งเป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อของร่างกาย
ประโยชน์ของการตรวจ MRI
- สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบและตรวจหาสิ่งผิดปกติในระยะแรกได้
- ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องขยับตัวผู้ป่วย
- ไม่เกิดการแตกตัวเป็นไอออนภายในร่างกาย
- สามารถตรวจเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูกได้
- ไม่มีรังสีเอกซ์ที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย
- ผู้ป่วยโรคไตวาย ( renal failure) ก็สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้
ปัจจุบันเครื่อง MRI ของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี สามารถตรวจความผิดปกติได้ครอบคลุมเกือบทุกอวัยวะ ดังนี้
- ภายในกระโหลกศีรษะ เช่น สมอง ต่อมใต้สมอง ตา หูชั้นใน
- ระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
- เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า
- อวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ
- บริเวณทรวงอก หัวใจ ช่องท้อง เต้านมสตรี
- หลอดโลหิตในสมองและลำตัวโดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64-Slice CT Scan
เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงขึ้น โดยสามารถสร้างภาพได้ครั้งเดียว 64 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ 360 องศา โดยใช้ความเร็วเพียง 0.4 วินาที ที่เรียกว่า 64 Slice MDCT (MultiDetector CT) ทำให้มีความเร็วในการจับภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น หัวใจ ได้แม่นยำถึง 90%
ความสามารถของเครื่อง 64-Slice CT Scan
- สามารถสร้างภาพครั้งเดียว 64 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ (360 องศา)
- สามารถหมุนด้วยความเร็วเพียง 0.4 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ทำให้การตรวจหัวใจได้ดีที่สุด เนื่องจากหัวใจมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
- ทำการตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการเป็นโรคทางด้านหัวใจ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ซึ่งช่วยในการตรวจผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการแสดงออกของโรคหัวใจให้เห็น
- ไม่ต้องทำการตรวจด้วย วิธี "สวนหัวใจ" ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสูง
- ตรวจโรคต่างๆ ได้ด้วยความแม่นยำสูง เช่น การตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Non-Invasive ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัว เหมือนการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่อง เอกซเรย์ทั่วไป (วิธี Invasive) ซึ่งต้องมีการใส่สายสวนหลอดเลือดเข้าในร่างกาย
- หลังการตรวจผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพัก สามารถลุกขึ้นเดินและทำงานได้ตามปกติ
ประสิทธิภาพของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
- ใช้ตรวจดูภาวะการตีบของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ โดยสามารถตรวจดูได้ทั้งลักษณะภายใน และภายนอกของ หลอดเลือด
- ใช้ตรวจการสะสมของหินปูน (Calcuim Scoring) ในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวกำหนด โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตได้
- สามารถเห็นภาพหัวใจและหลอดเลือดระนาบต่างๆ ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เป็นประโยชน์ในการวางแผน การรักษา
- มีโปรแกรมคำนวณที่ทันสมัย ทำให้สามารถตรวจการทำงาน และการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่าง แม่นยำ
- ตรวจพยาธิสภาพของเยื่อหุ้มหัวใจและอวัยวะใกล้เคียง
ประโยชน์ของเครื่อง 64-Slice CT Scan
- วินิจฉัยภาวะเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบในคนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กราฟหัวใจผิดปกติแต่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก มีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือตรวจก่อนการผ่าตัดใหญ่
- ตรวจเพื่อติดตามผลหลังการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจหรือหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจหรือหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจแต่กำเนิด (Coronary Anomalies)