...

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)

ไวรัสตับอักเสบซี มีการติดต่อของโรคคล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี โดยผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ตับมักเริ่มเสื่อมมากแล้ว

 

ระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบซี

ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้นอยู่ที่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือน

 

การติดต่อของไวรัสตับอักเสบซี

  • สัมผัสเลือด สารคัดหลั่งของร่างกาย ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง น้ำเหลืองจากเลือด เหงื่อ ไขมันจากต่อมเหงื่อ หนอง น้ำไขสันหลัง น้ำตา น้ำในช่องต่างๆ ของดวงตา ขี้หู น้ำมูก ขี้มูก น้ำลาย เสมหะ เสลดน้ำนม อาเจียน น้ำดี น้ำจากช่องคลอด น้ำอสุจิ นอกจากนี้ ยังมีน้ำต่างๆ ในโพรงของอวัยวะต่างๆ เช่น น้ำในช่องท้อง และน้ำในช่องปอดและปัสสาวะ

  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เช่น ผู้เสพสารเสพติด

  • ได้รับเลือดที่มีผู้บริจาคก่อน พ.. 2535 เพราะการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซีในช่วงนั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเลือด ทุกถุงก่อนจะนำมาให้กับผู้ป่วย

  • ทารกได้รับเชื้อจากมารดาขณะคลอด

  • เพศสัมพันธ์

  • การใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันที่อาจมีการสัมผัสเลือดร่วมกัน เช่น อุปกรณ์โกนหนวด แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ

 

อาการเมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

  • มีไข้หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงถึง 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่ารู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สบาย

  • ไม่อยากอาหาร หรือเบื่ออาหาร

  • ปวดช่องท้อง

  • ผู้ป่วยในบางรายอาจมีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

 

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบซี

  • การซักประวัติตรวจ และการตรวจร่างกาย

  • การเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ

  • การตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV)

  • ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซี (HCV-RNA) โดยวิธี PCR และการตรวจชนิดสายพันธุ์ของไวรัส (HVC -genotype)

  • อัลตราซาวด์ตับเพื่อประเมินดูระยะของโรคว่าดำเนินไปสู่การเป็นตับเเข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่

  • การเจาะตับเพื่อเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรค

การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

การรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี อาจทำให้หายขาดได้ด้วยยา ทั้งการฉีดยาร่วมกับยารับประทาน โดยแพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ พยาธิสภาพที่ตับ และลักษณะของผู้ป่วย ก่อนให้การรักษาพยาบาลต่อไป

       หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเพียงระยะเริ่มแรกหรือระยะเฉียบพลัน การรักษาอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มในทันที เพราะร่างกายอาจกำจัดเชื้อไวรัสไปได้เอง ซึ่งจะมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบความเป็นไปของโรค แต่หากโรคดำเนินไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรือที่เรียกว่าไวรัสตับอักเสบซีระยะเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการรักษา ซึ่งจะได้ผลแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย

ภาวะแทรกซ้อนจากไวรัสตับอักเสบบี 

 

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

  • ระมัดระวังในการเจาะหูหรือสักตามร่างกาย ต้องเลือกร้านที่ไว้ใจได้เรื่องความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์อย่างถูกหลักอนามัย โดยเฉพาะเข็มที่ใช้ต้องผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น

  • ป้องกันทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่รู้และไม่แน่ใจเกี่ยวกับสุขภาพของเขา โดยเฉพาะผู้ที่มีคู่นอน

 

ไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงควรปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตัวเองในขั้นต้นอย่างเคร่งครัด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888