-
- กกก
- ระบบสมาชิก
การตรวจการกลืนโดยภาพถ่ายรังสี : video fiuoroscopy swallowing (VFSS)
การใช้เครื่องมือตรวจพิเศษที่สำคัญ ได้แก่ VFSS ( video fiuoroscopy swallowing ) ซึ่งเป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้ดูการทำงานของระบบทางเดินอาหารช่วงศีรษะ และคอ โดยทำในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือยืน และการใช้กล้องเพื่อดูการกลืน (fiberoptic endoscopic evaluation of swallowing-FEES) ซึ่งช่วยประเมินการกลืนในระยะคอหอย และการตรวจไฟฟ้าที่ผนังกล้ามเนื้อการกลืน (swallowing surface electromyography-SSEMG) เป็นการวัดและบันทึกไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อโดยอาศัยอิเล็กโตรดเป็นตัวจับสัญญาณไฟฟ้า ปัจจุบันการประเมินการกลืน จึงอาศัยลักษณะทางคลินิกและการตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ โดยเฉพาะการตรวจโดยวิธี VFSS เป็นวิธีการประเมินมาตรฐาน เนื่องจากสามารถบอกลักษณะและตำแหน่งของปัญหาได้ แต่เนื่องจากการตรวจ VFSS ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายแพง ดังนั้นการตรวจประเมินทางคลินิกยังคงมีความสำคัญอยู่ (วิฑูร,2548)
ใครควรตรวจการกลืน
ทำไมต้องตรวจการกลืน
วิธีการตรวจ
ผู้ป่วยรับการตรวจโดยการกลืนแป้งซึ่งเป็นสารทึบรังสี เช่น แบเรียมซัลเฟต (Barium Sulfate) ร่วมกับการเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อดูความผิดปกติของการกลืนในระยะช่องปาก ระยะคอหอย และระยะหลอดอาหาร การตรวจจะทำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักรังสีเทคนิค โดยป้อนอาหารและน้ำดื่มผสมแบเรียม ซึ่งลักษณะเนื้ออาหารจะแตกต่างกัน เพื่อประเมินการกลืน ความผิดปกติทางสรีรวิทยา รวมไปถึงการหาแนวทางการรักษาฟื้นฟูที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ข้อดีของการตรวจการกลืนโดยภาพถ่ายรังสี
ข้อจำกัดของการตรวจนี้