...

ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน

ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน

ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีความรุนแรง และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากสามารถก่อให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นอย่างเฉียบพลันได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพียงไม่กี่ชั่วโมง และสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด  โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้มักเกิดในเด็กเล็กอายุ 2-6 ปี  อย่างไรก็ตาม สามารถพบโรคนี้ได้ในทุกอายุ  ผู้ป่วยจะมีการอักเสบและบวมของฝาปิดกล่องเสียงและอวัยวะโดยรอบ


สาเหตุฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน

ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ โดยเชื้อก่อโรคที่สำคัญ และพบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็กคือ Hemophilus influenzae type B (HIB)  เชื้อ HIB นี้มักมีความรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจได้บ่อย และมีระยะเวลาการดำเนินโรคที่สั้น เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อชนิดอื่นๆ  นอกจากนี้ HIB ยังสามารถกระจายไปตามกระแสเลือด ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆตามมาได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบปอดบวมข้ออักเสบ เป็นต้น   เชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆ  นอกจากนี้อันตรายจากไอความร้อน ก็สามารถทำให้เกิดการบวม และอักเสบของฝาปิดกล่องเสียงได้เช่นกัน  สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ พบว่า HIB ยังคงเป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญ แต่พบว่ามีเชื้อก่อโรคชนิดอื่น ๆ ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่อเกิดการอักเสบ ฝาปิดกล่องเสียงจะบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งอาจพบตุ่มหนองเล็ก ๆ เกิดขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงถูกเบียด และม้วนตัวไปทางด้านหลังและลงล่าง ทางเดินหายใจส่วนช่องทางเข้าของกล่องเสียงจะถูกปิดกั้นไปทีละน้อย  เสมหะและน้ำลายบริเวณนี้จะมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากอาการกลืนเจ็บและกลืนลำบากของผู้ป่วย ซึ่งมีส่วนซ้ำเติม ทำให้ทางเดินใจส่วนบนถูกอุดกั้นได้มากขึ้น


อาการ            

  • ไข้

  • หายใจลำบาก, หายใจเร็ว, หายใจเข้าออกช่วงสั้น ๆ , หายใจมีเสียงดัง

  • เจ็บคอ

  • กลืนลำบาก

  • อาจมีอาการปวดหูได้

  • มีน้ำลายไหลออกทางมุมปาก กลืนเจ็บ และกลืนลำบาก

  • เสียงพูดเปลี่ยน มีลักษณะคล้ายอมอะไรในคอ

การวินิจฉัย

  • เอกซเรย์ด้านข้างของคอ ในกรณีที่การวินิจฉัยโรคยังไม่ชัดเจนและผู้ป่วยยังไม่มีปัญหาทางเดินหายใจอุดกั้

  • การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ หรือดูความผิดปกติต่างๆ ควรทำหลังจากที่สามารถควบคุมทางเดินหายใจของผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยแล้ว เชื้อส่วนใหญ่จะเป็น HIB หลังจากมีการใช้ HIB vaccine อย่างแพร่หลาย พบว่ามีรายงานของเชื้อตัวนี้ลดลง โดยมีอุบัติการณ์ของเชื้อในกลุ่ม Streptococcus เพิ่มมากขึ้น

การรักษา

            1. การควบคุมทางเดินหายใจให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัย  ปัจจุบันการใส่ท่อช่วยหายใจ ถือได้ว่าเป็นวิธีมาตรฐานในการดูแลทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคนี้ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันพอสมควร และแนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบดังนี้

            2. การให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม โดยในช่วงแรกจะให้ยาต้านจุลชีพทางเส้นเลือดดำก่อน จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 48-72 ชั่วโมง จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นยาต้านจุลชีพชนิดรับประทาน และให้ต่อจนครบ 7-10 วัน

ภาวะแทรกซ้อน

  • การแพร่กระจายของเชื้อไปตามกระแสเลือดทำให้เกิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบปอดบวมข้ออักเสบ,หูชั้นกลางอักเสบ

  • การอุดกั้นทางเดินหายใจที่รุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ จากภาวะการขาดออกซิเจน

  • อาจเกิดภาวะน้ำท่วมปอด หลังจากควบคุมทางเดินหายใจได้ เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการแก้ไขการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว  

  • หัวใจวาย

  • เส้นเลือดดำอุดตัน

  • ฝีที่หลังช่องคอด้วย
                

 

ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th/