...

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหินเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสูญเสียการมองเห็นชนิดถาวรที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก โดยในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการอะไร ต่อมาลานสายตาจะค่อยๆแคบลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด

          ต้อหินพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้มากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติญาติเป็นต้อหิน สายตาสั้นหรือยาว มากๆ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ทั้งชนิดยาหยอดตา ยาฉีด ยาพ่นหรือยากิน รวมทั้งผู้ที่เป็นต้อกระจกจนสุก ก็สมควรได้รับการตรวจคัดกรองต้อหินโดยจักษุแพทย์ เพื่อ การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่ในระยะแรกเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ได้ ส่วนการใช้สายตามากๆ การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารรวมทั้งการได้รับ แสงสีฟ้าไม่ได้มีผลต่อการเกิดโรคต้อหินแต่อย่างไร

โรคต้อหินคืออะไร
          
ต้อหินคือโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียใยประสาทตาของขั้วประสาทตาโดยเกี่ยว ข้องกับความดันตาและการสูญเสียลานสายตา การวินิจฉัยโรคต้อหินทำได้ด้วยการ ตรวจขั้วประสาทตา การวัดความดันตาและการตรวจลานสายตาโดยจักษุแพทย์

ประเภทของต้อหิน
          
1 แบ่งตามลักษณะของมุมตา ประกอบด้วยต้อหินชนิดมุมตาเปิด และต้อหินมุมตาปิด
          2.
แบ่งตามสาเหตุ ประกอบด้วยต้อหินชนิดปฐมภูมิที่ไม่มีสาเหตุ และต้อหินชนิดทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากโรคตาอื่นๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก เป็นต้น
          3. แบ่งตามลักษณะอาการ ได้แก่ ต้อหินเรื้อรังที่มักไม่มีอาการอะไร และต้อหินเฉียบพลัน ที่มีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวทันที

การวินิจฉัยโรคต้อหิน
          
ผู้ป่วยโรคต้อหินเรื้อรังทั้งชนิดมุมตาเปิดและมุมตาปิด ในระยะแรกมักจะไม่มี อาการผิดปกติใดๆ ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคต้อหินแต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำ ให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงจนตาบอดได้ในที่สุด การตรวจตาโดยจักษุแพทย์ในผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงเป็นการป้องกันภาวะตาบอดจากต้อหินได้ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยต้อหินเฉียบพลันจะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวอย่างรวดเร็ว โดย อาจพบอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยก็ได้

การวินิจฉัยโรคต้อหิน
          
ผู้ป่วยโรคต้อหินเรื้อรังทั้งชนิดมุมตาเปิดและมุมตาปิด ในระยะแรกมักจะไม่มี อาการผิดปกติใดๆ ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคต้อหินแต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำ ให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงจนตาบอดได้ในที่สุด การตรวจตาโดยจักษุแพทย์ในผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงเป็นการป้องกันภาวะตาบอดจากต้อหินได้ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยต้อหินเฉียบพลันจะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวอย่างรวดเร็ว โดย อาจพบอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยก็ได้

ความดันตา
          
ความดันตาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคต้อหิน ความดันตาถูกควบ คุมโดยสารน้ำในตา ถ้าอัตราการสร้างสารน้ำไม่สมดุลกับการระบายออก ความดันตา ก็จะสูง ส่งผลให้ขั้วประสาทตาผิดปรกติ ลานสายตาแคบลง และตามัวได้ในที่สุด

ลานสายตา
          
ผู้ป่วยต้อหินต้องได้รับการตรวจลานสายตาด้วยเครื่องตรวจลานสายตาเพื่อใช้ ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษา ผู้ป่วยต้อหินบางรายอาจสังเกตการสูญเสียของ ลานสายตาได้ด้วยต้นเองส่วนมากจะเสียรอบนอกแล้วค่อยๆเป็นมากขึ้นเข้าสู่ตรงกลาง

การรักษาโรคต้อหิน
          
ปัจจุบันการรักษาต้อหินด้วยการลดความดันตาเป็นการรักษามาตรฐานที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่าสามารถรักษาโรคต้อหินได้ การรักษาโรคต้อหินประกอบด้วย
          1. การรักษาต้อหินโดยการใช้ยา เป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด เพราะสะดวก ปลอดภัย ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ปัจจุบันมียา หยอดตารักษาโรคต้อหินหลายชนิดโดยผู้ป่วยอาจเริ่มใช้ยาเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกัน สำหรับผู้ป่วยที่ความจำเป็นต้องใช้ยากินหรือฉีดร่วมด้วยมัก จะใช้รักษาโรคต้อหินในระยะสั้นเพื่อเตรียมผ่าตัดเท่านั้น เนื่องจากมีผลข้าง เคียงสูง
          2. การรักษาต้อหินโดยการใช้แสงเลเซอร์ ประกอบด้วยการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตาเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคต้อหินเฉียบพลันในผู้ที่มีมุมตาปิด การยิงเลเซอร์ที่มุมตาเพื่อลดความดันตาในผู้ป่วย ต้อหินมุมตาเปิด เป็นต้น

          3. การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัด  การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัดมุ่งเน้นที่การทำช่องระบายน้ำภายในลูกตาเพื่อ ลดความดันตา  มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ด้วยยาหยอด ตา การผ่าตัดรักษาต้อหินมีหลายวิธี เช่น  การผ่าตัดTrabeculectomy การผ่าตัดใส่อุปกรณ์ระบายน้ำสำหรับต้อหิน (Glaucoma  drainage devices) นอกจากนี้การผ่าตัดต้อกระจกอาจใช้รักษาต้อหินบางชนิดได้ ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อหินชนิดใหม่ๆอีกหลายวิธี ซึ่งการ เลือกใช้วิธีผ่าตัดต้อหินวิธีใดนั้นขึ้นกับสาเหตุและระยะของโรคต้อหิน

          ต้อหินเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียสายตาแบบถาวรที่พบได้บ่อย สามารถ ควบคุมรักษาเพื่อป้องกันภาวะตาบอดได้ แต่ต้องได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ตลอดจนอาศัยความร่วมมืออย่างดีระหว่างผู้ป่วยและจักษุแพทย์ การตรวจสุขภาพตา อย่างน้อยปีละ  ครั้งในผู้ที่มีอายุมากกว่า  45 ปี  โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของ โรคต้อหินจึงมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาเพื่อป้องกันภาวะตาบอดจากต้อหิน การนวดตา การใช้วิตามิน ยาบำรุงหรือการใช้สมุนไพรไม่ใช่วิธีการรักษาต้อหินที่ ถูกต้อง มีผู้ป่วยหลายรายที่ตาบอดจากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว การรักษาต้อหินจึง ควรได้รับการดูแลรักษาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th/