-
- กกก
- ระบบสมาชิก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนักในคนไทยเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น และมักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากละเลย ไม่ใส่ใจ ทำให้มะเร็งลุกลามจนอาการปรากฏชัดเจน เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลด ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงควรพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คร่างกาย ซึ่งหากเป็นระยะแรกๆ ก็จะรักษาให้หายขาดหรือมีชีวิตยืนยาวได้
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น พ่อแม่พี่น้องสายตรงป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้ ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมของโรคนี้ในครอบครัว
มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังบางชนิด หรือเป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori)
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
รับประทานอาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง ปิ้งย่าง รมควัน หรืออาหารที่ใส่สารดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุเชียง เนื้อเค็มตากแห้ง
รับประทานผักและผลไม่น้อย
มีประวัติเคยผ่าตัดกระเพาะอาหารมานานกว่า 20 ปี
อาการของโรคมะเร็งลพไส้
ระยะเริ่มแรก ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อมีการลุกลามของมะเร็งมากขึ้น จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่นท้องตรงบริเวณลิ้นปี่คล้ายกับอาการแสดงของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจเกิดอาการรุนแรงตามมา ได้แก่
คลื่นไส้ อาเจียน
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลืองที่ปอ่งไหแลาร้าข้างซ้าย
อาการของโรคแทรกซ้อนจากการลุกลามของมะเร็ง เช่น ดีซ่านห หรือตาเหลือง ปวดท้อง อาเจียน เนื่องจากก้อนมะเร็งอุดตัน ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมะเร็งลุกลามไปที่ปอด
การวินิจฉัย
โดยการส่องกล้องการตรวจทางเดินอาหทรส่วนต้น ซึ่งจะสามารถเห็นสภาพภายใน ซึ่งสามารถเห็นสภาพภายในกระเพาะอาหารได้ทั้งหมด และสามารถติดชื้อผิวกระเพาาะอาหาร
การรักษา
ประกอบด้วยการผ่าตัดการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด หรือการฉายแสดงรักษา ซึ่งการรักษาจะใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับระยะของโรค
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะเริ่มต้น รักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออก และอาจให้ยาเคมีบำบัดเสริมหลังผ่าตัดเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ในร่างกายที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทำผ่าตัด จุดประสงค์ของการรักษา ในระยะนี้มุ่งหวังให้โรคหายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลาม รักษาด้วยการให้เคมีบำบัดเป็นหลัก อาจร่วมกับการฉายแสงในบางครั้ง ส่วนการผ่าตัดจะทำให้เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินอาหารทางเดินน้ำดี จุดประสงค์ของการรักษาในระยะนี้ ทำเพื่อป้องกันทางเดินน้ำดี จุดประสงค์ของการรักษาในระยะนี้ ทำเพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อน เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น
ข้อควรปฏิบัติ
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง หรือติดเชื้อเฮลิโคเเบกเทอร์ไพโลรี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ที่มีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร หลังจากรับประทานยาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือหลังจากทานยาครบ 6-8 สัปดาห์แล้วมีอาการกำเริบขึ้นมาใหม่ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ในการปวดแต่ละครั้งมีอาการยายเกินกว่า 4 ชั่วโมง ถ่ายอุจจาระมีสีดำ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
เสริมสร้างกำลังใจให้แข็งแรง ด้วยการทำจิตใจให้สดชื่น ไม่ท้อแท้ หดหู่ ต่อสู้และยอมรับกับความจริง
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มผักผลไม้ และดื่มน้ำสะอาด
ออกกำลังกายให้พอควรเป็นประจำ
ตรวจติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องตามนัด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข / http://www.nci.go.th/th/Knowledge/downloads/0007.pdf