...

การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบผ่านกล้อง (Laparoscopic inguinal herniorrhaphy)

การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบผ่านกล้อง

การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อขาหนีบผ่านกล้อง (Laparoscopic inguinal herniorrhaphy) คือการผ่าตัดสอดกล้องผ่านผิวหนังบริเวณสะดือ แล้วนำภาพขึ้นจอภาพ พร้อมสอดเครื่องมือขนาด0.5-1 เซนติเมตร อีก 2-3 แผล เพื่อทำการผ่าตัด ในปัจจุบันนิยมวางแผ่นตาข่ายสังเคราะห์ (Mesh) ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการผ่าตัด เนื่องจากช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ (Recurrent rate) ให้เหลือเพียงร้อยละ 1-5 เท่านั้น การผ่าตัดส่องกล้องมีหลายวิธี ได้แก่

      • TAPP(Trans abdominal pre peritoneal) เป็นการซ่อมแซมไส้เลื่อนผ่านช่องท้อง เครื่องมือจะถูกสอดผ่านผนังกล้ามเนื้อช่องท้องและผ่านเยื่อบุที่ปกคลุมอวัยวะของคุณ แผ่นเยื่อบุปะจะถูกลอกกลับให้คลุมไส้เลื่อน และแพทย์จะทำการติดตัวคลุมเข้ากับพื้นที่ที่อ่อนแอในผนังช่องท้องของคุณเพื่อเสริมความแข็งแรงขึ้น

      • TEP(Totally extra peritoneal) เป็นการซ่อมแซมใส้เลื่อนภายนอกช่องท้อง เป็นเทคนิครูกุญแจแบบใหม่ โดยจะทำการรักษาไส้เลื่อนโดยไม่เข้าไปยังโพรงเยื่อบุภายใน

      • IPOM(Intraperitoneal onlay mesh repair) เป็นการซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบแบบวางตาข่ายผนังหน้าท้องเทียมปิดในช่องท้อง

 

 

ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบผ่านกล้อง

  • บาดแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ทำให้เกิดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อย ลดปริมาณการใช้ยาเพื่อลดความปวด

  • เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อย ผู้ป่วยจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

  • ลดโอกาสการติดเชื้อของแผลผ่าตัด เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ดูแลง่าย

 

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. ให้ข้อมูลสุขภาพที่เป็นความจริงกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ เช่น โรคปรจำตัว ยาหรืออาหารเสริมที่รับปรทานอยู่ ประวัติการแพ้ยาหรือแพ้อาหาร ประวัติการผ่าตัด เป็นต้น

  2. งดน้ำงดอาหารทางปากอย่างน้อย6-8 ชั่วโมง

  3. อาหารมื้อสุดท้ายก่อนการผ่าตัด ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย

  4. หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือด จะต้องงด 7 วันก่อนผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์

  5. พักผ่อนอย่างเพียงพอ