-
- กกก
- ระบบสมาชิก
ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อเข้าสู่ร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ ซึ่งเป็นไวรัสนี้ที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อม โดยสามารถทนความร้อน และทนกรด เชื้อนี้จะถูกทำลายได้โดยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือการผ่านความร้อน 100 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที
ระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบเอ
ระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบเอ มีระยะเวลาตั้งแต่ 14–28 วัน และมักจะมีอาการนานถึง 50 วัน
อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ
อาการนํามักเกิด 1-2 สัปดาห์ก่อนระยะเหลือง โดยมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว และสวนใหญ่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจพบอาการท้องเสียได้หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด บางรายมีผื่นแดง (maculopapular rash) จุดเลือดออก (petechiae) หรือผื่นลมพิษได้อาการนําพบอยางมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ และในเด็กพบน้อยกว่าผู้ใหญ่ เอนไซม์ AST และ ALT มักขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เริ่มมีอาการเหลืองและลดลงอย่างรวดเร็ว พบผู้ป่วยตับอักเสบที่มีภาวะน้ำดีคั่ง และมีระยะเหลืองจัดเป็นเวลานาน (cholestatic viral hepatitis) ซึ่งผู้ป่วยมักจะมี อาการคันมาก อุจจาระสีซีด แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการเหลืองจะหายไปภายใน 4 สัปดาห์
การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบเอ
การตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน ได้แก่ การตรวจหา anti-HAV ชนิด IgM ด้วยวิธี Enzyme immunoassay (EIA) แอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได ้ ตั้งแต่เริ่มมีอาการและพบได้นาน 3-6 เดือน สําหรับตรวจหา HAV จํานวนน้อยๆ ซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ หรือน้ำดื่มโดยใช้วิธี Reverse transcriptase Polymerase chain reaction (RT-PCR)
การรักษาไวรัสตับอักเสบเอ
ไม่มีการรักษาเฉพาะโรคโดยเฉพาะสำหรับไวรัสตับอักเสบ เอ การบำบัดมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้รู้สึกสบายตัว และได้รับสารอาหาร ที่มีความสมดุลอย่างเพียงพอ รวมไปถึงการทดแทนของเหลวในร่างกายที่สูญเสียไปจากการอาเจียน และท้องเสีย
การป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ
การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยให้เพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุกและสะอาดเสมอ
กำจัดน้ำเสียภายในชุมชนอย่างเหมาะสม